Price Action คืออะไร : การเทรดด้วยรูปแบบ Price Action

 

Price Action คืออะไร : การเทรดด้วยรูปแบบ Price Action

พฤษภาคม 27, 2020 23:55 UTC
ใช้เวลาอ่าน 20 นาที

คุณรู้หรือไม่ว่า กลยุทธ์การเทรดแบบ Price Action เป็น 1 ในกลยุทธิ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในตลาด Forex เพราะไม่ว่าคุณจะเป็นเทรดเดอร์ระยะยาวหรือสั้นขนาดไหนก็ตาม การวิเคราะห์ด้วยกราฟเปล่าๆ แบบ Price Action ก็สามารถช่วยระบุตำแหน่งในการซื้อขายได้

price action คืออะไร

เพราะถึงที่สุดแล้ว คุณต้องเข้าใจว่า Indicator MT4 ต่างๆ ที่ใช้กันนั้น ต่างก็ต้องรอให้ราคาเคลื่อนไหวไปก่อนแล้วเท่านั้น จึงจะคำนวณออกมาเป็นดัชนีแสดงสัญญาณการซื้อขายได้ ดังนั้น Price Action จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก โดยในบทความนี้ เราจะศึกษาประเด็นทั้งหมดที่ครอบคลุม

Price Action คือ?

Price Action คือ "สิ่งที่ราคาได้กระทำ" เป็นหนึ่งในการวิเคราะห์ทางเทคนิคที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เป้าหมายของการศึกษาเกี่ยวกับ Price Action เป็นการพยายามแปลความหมายและตีความสถานการณ์ของตลาดทางการเงิน ผ่านการพิจารณารูปแบบราคา หรือ "Pattern" ที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าผ่านกราฟราคา จึงมักนิยมเรียกลักษณะการวิเคราะห์ดังกล่าวว่า "วิเคราะห์กราฟเปล่า"

แนวคิดของ Price Action ส่วนใหญ่จะยึดโยงกับ "รูปแบบ" ซึ่งก่อนจะกลายมาเป็นรูปแบบราคาต่างๆ ได้นั้น ก็ต้องมีการเก็บรวบรวมสถิติว่า เมื่อราคาเกิดเป็นรูปแบบ Price Action หนึ่งๆ ขึ้นมาแล้ว "ราคาจะไปต่อทางไหน" แล้วจึงสรุปมาเป็นองค์ความรู้ ดังนั้น เทรดเดอร์จึงนิยมวิเคราะห์กราฟ Forex ด้วย Price Action มากกว่าเทคนิคอื่น เนื่องจากมีคนรวบรวมสถิติมาไว้แล้วเป็นจำนวนมาก

สิ่งสำคัญของรูปแบบ Price Action คือ การเป็นตัวสะท้อนว่า Buyer กับ Seller ที่อยู่ในตลาดนั้นกำลังทำอะไรกันอยู่ และเมื่อเข้าใจว่า ผู้เล่นในตลาด "น่าจะ" มีสถานะอย่างไร ก็จะเป็นสิ่งที่ทำให้เทรดเดอร์ที่เข้าใจเรื่อง Price Action จะมีความได้เปรียบในการเข้าไปเทรด และสรุปที่บอกว่า "สิ่งที่ราคาได้กระทำ" นั้นก็คือ "ตลาด" หรือสิ่งที่ผู้เล่นในตลาดได้กระทำ (และแสดงออกผ่านราคา) นั่นเอง

Price Action Indicator

รูปแบบ Price Action เป็นหัวข้อที่ "สมาคมนักวิเคราะห์ทางเทคนิค" (CMT) บังคับให้ผู้ที่ต้องการสอบใบอนุญาตสำหรับการเป็นนักวิเคราะห์ทางเทคนิคสากล ต้องสอบให้ผ่าน เนื่องจากรูปแบบ Price Action คือพื้นฐานสำคัญในเรื่องการวิเคราะห์ทางเทคนิค รวมถึงการต่อยอดไปถึงเรื่อง Price Action ขั้นสูง

คำถาม คือ เราใช้อะไรในการพิจารณา Price Action?

ตามที่กล่าวไว้ข้างต้นว่า Price Action คือ ภาพสะท้อนของกิจกรรมระหว่าง Buyer และ Seller และสิ่งที่เรียกว่า 'Price Action Indicator' หรือสิ่งที่ใช้บ่งชี้ถึงกิจกรรมดังกล่าว ก็คือ กราฟแท่งเทียน นั้นเอง โดยกราฟแท่งเทียนดังกล่าว จะให้ข้อมูลราคา Open, Close, High, Low และช่วงเวลา ซึ่งสามารถใช้อธิบายพฤติกรรมของ Player ในตลาดได้

  • Price Action Indicator คือ กราฟแท่งเทียน

Price Action Indicator

หากคุณเคยเห็นกราฟของหุ้นหรือค่าเงินต่างๆ คุณอาจจะคุ้นเคยกับตัวอย่างภาพด้านบน ซึ่งให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับการเทรดอย่างมหาศาล ในกรณีที่เป็นกราฟรายวัน (Daily Chart) กราฟจะแสดงข้อมูลของแต่ละวันดังต่อไปนี้

  • High คือจุดสูงสุดของวัน, Low คือจุดต่ำสุดของวัน ที่ราคาเคยไปถึง
  • Seller Candle หรือแท่งเทียนสีดำตามภาพ บ่งบอกว่า Seller เป็นผู้ชนะในวันนี้ โดยราคาปิด หรือ 'Close' จะอยู่ต่ำกว่าราคาเปิด หรือ Open
  • ในทางตรงกันข้าม Buyer Candle หรือแท่งเทียนสีขาวตามภาพ บ่งบอกว่า Buyer เป็นผู้ชนะในวันนี้ โดยราคาปิด หรือ 'Close' จะอยู่สูงกว่าราคาเปิด หรือ Open

การใช้กราฟแท่งเทียนเป็น Price Action Indicator แบบง่ายๆ นี้ ก็สามารถเป็นพื้นฐานในการสร้างกลยุทธ์การเทรดแบบ Price Action ได้ ตัวอย่างตามภาพ 1.1

การเทรดด้วย Price Action Indicator

ภาพ 1.1 : กราฟ AUDUSD ราย 1 ชั่วโมง, ตั้งแต่ 27 Jul 2020 - 5 Aug 2020, ตัวอย่างกลยุทธ์ด้วย Price Action Indicator แบบกราฟเปล่า

Disclaimer : กราฟราคาที่แสดง ณ ที่นี้ ใช้เพื่อประกอบการศึกษาเท่านั้น ไม่ถือเป็นคำแนะนำหรือคำชักชวนให้มีการลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงินใดๆ ที่ให้บริการโดย Admiral Markets (CFDs, ETFs, Shares) สถิติในอดีตไม่สามารถใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงเหตุการณ์ในอนาคตได้

  1. กรณีที่เป็นแนวโน้มต่อเนื่องและเป็นแนวโน้มขาลง ย่อมหมายถึง Seller กำลังมีอิทธิพลมากต่อตลาด ดังนั้น ให้เราเข้า Sell เมื่อกราฟแท่งเทียนเปลี่ยนสีจากสีเขียวไปเป็นสีแดง (จาก Bullish เป็น Bearish) โดยในภาพ 1.1 ลูกศรสีเขียวคือจังหวะที่เราเข้าเทรด เมื่อกราฟแท่งเทียนจบแท่งและเป็นสีแดง
  2. กรณีที่เป็นแนวโน้มต่อเนื่องและเป็นแนวโน้มขาขึ้น ย่อมหมายถึง Buyer กำลังมีอิทธิพลมากต่อตลาด ดังนั้น ให้เราเข้า Buy เมื่อกราฟแท่งเทียนเปลี่ยนสีจากสีแดงไปเป็นสีเขียว (จาก Bearish เป็น Bullish) โดยในภาพ 1.1 ลูกศรสีน้ำเงินคือจังหวะที่เราเข้าเทรด เมื่อกราฟแท่งเทียนจบแท่งและเป็นสีเขียว

แนวคิดการเข้าเทรดข้างต้น เป็นเพียงวิธีหนึ่งในการใช้กราฟแท่งเทียนในฐานะที่มันเป็น Price Action Indicator เท่านั้น สำหรับเทคนิค Price Action ขั้นสูง จะนิยมประยุกต์ลักษณะของกราฟแท่งเทียนเข้ากับ Pattern ของเครื่องมืออื่นๆ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างกราฟแท่งเทียนกับเส้น Moving Average

เริ่มเทรดโดย "ไร้ความเสี่ยง" กับบัญชีเงินจำลอง

การเทรดแบบ Price Action นั้น แม้แต่เทรดเดอร์มืออาชีพเองก็นิยมเข้าไปฝึกฝนในระบบบัญชีเงินจำลอง หรือที่เรียกว่า "Demo Account" อยู่อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเป็นระบบที่จำลองเงินขึ้นมาเพื่อใช้เทรด

  • สามารถเทรดได้เหมือนตลาดจริงทุกประการ
  • สามารถใช้เครื่องมือเทรดและสัมผัสถึงสภาพแวดล้อมแบบบัญชีจริงทุกประการ
  • คำนวณกำไรขาดทุนเหมือนเงินจริงทุกประการ และคำนวณตามราคาตลาดจริงๆ

คุณสามารถฝึดเทรดได้เรื่อยๆ ตั้งแต่พื้นฐานไปจนถึง Price Action ขั้นสูง โดยไม่มีความเสี่ยงใดๆ ผ่านแพลตฟอร์ม MetaTrader 5 ที่จะช่วยให้คุณสามารถออกแบบประสบการณ์การเทรดของคุณเองได้ คลิกที่แบนเนอร์ด้านล่างเพื่อเปิดบัญชีเงินจำลองได้แล้ววันนี้ ฟรี!

เปิดบัญชี DEMO ได้ฟรี!

Price Action Forex

การเทรดแบบ Price Action เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ Buyer และ Seller ทั้งหมดในตลาด มันสามารถประยุกต์ใช้กับทุกตลาดทางการเงินได้ แต่จะแสดงประสิทธิภาพได้สูงสุดเมื่อนำมาประยุกต์ใช้กับ Forex เหตุผลก็เพราะตลาด Forex จะแปรผันตามเศรษฐกิจโลก และมันจะมีการประกาศ ข่าว Forex และตัวเลขเศรษฐกิจอยู่ตลอดสัปดาห์ ทำให้เทรดเดอร์ที่มีเวลาน้อย ไม่สามารถติดตามข่าวสารได้ทั้งหมด

การวิเคราะห์ราคาด้วย Price Action จึงสามารถเข้ามาแก้จุดอ่อนเกี่ยวกับการรับรู้ข่าวสารได้ เพราะถือว่าข่าวสารต่างๆ ได้ซึมซับและแสดงออกผ่านรูปแบบ Price Action เป็นที่เรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้ ข้อดีของการเทรดในตลาด ยังมีดังต่อไปนี้

  1. เปิดให้เทรดได้ 24 ชั่วโมง ตลอด 5 วันต่อสัปดาห์ : ทำให้ไม่มีปัญหา แม้เราจะไม่ค่อยมีเวลาเข้ามาดูตลาด เพราะจะเข้ามาดูตอนไหนก็ได้ โดยอาจใช้เวลาเพียงวันละ 30-45 นาที เพื่อหาสัญญาณการเทรดจาก Price Action ในไทม์เฟรมใหญ่
  2. มีสภาพคล่องสูงกว่าทุกๆ ตลาด : - ซึ่งแปลว่า มีคนพร้อมที่จะซื้อขายกับคุณตลอดเวลา และเป็นผลทำให้ต้นทุนการเทรดจะต่ำมาก ตามหลัก Demand & Supply เพราะเมื่อสินค้ามีปริมาณมาก ก็จะเกิดการแข่งขันด้านราคา
  3. ความหลากหลายของสกุลเงิน : โบรกเกอร์ทั่วไปจะมีสกุลเงินที่หลากหลายให้เราเลือกเทรด ประมาณ 20 ตราสาร ในขณะที่โบรกเกอร์ Admiral Markets คู่เงิน Forex ให้เลือกเทรดถึง 40 คู่สกุลเงิน!
  4. ในการเทรด Forex คุณจะสามารถเข้าเทรดด้วยปริมาณเงินที่มากกว่าเงินที่มีอยู่จริงๆ ได้ หรือลงทุนได้มากกว่าจำนวนเงินฝาก ซึ่งจะทวีคูณขนาดของกำไรและขาดทุนที่ได้รับ โดยคุณสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมได้ที่บทความ : Leverage คืออะไร?

นี่เป็นเพียงข้อดีบางส่วนของตลาด Forex เท่านั้น ในหัวข้อถัดไป คุณจะได้เรียนรู้กลยุทธ์การเทรดแบบ Price Action โดยจะเริ่มต้นศึกษาจากเรื่องรูปแบบ Price Action ก่อน

รูปแบบ Price Action ที่สำคัญ

กลยุทธ์ทางธุรกิจต้องใช้องค์ประกอบที่แตกต่างกันสามประการ ทำไมตัวเลขคุณกำลังพิจารณาการซื้อขายในตลาดที่เฉพาะเจาะจง นี่คือที่ใช้เทคนิคการกำหนดราคา ด้วยการวิเคราะห์การเคลื่อนไหวของราคาคุณจะได้รับข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสิ่งต่อไป - ตลาดกำลังเคลื่อนไหวขึ้นหรือลง

จำนวนและพลวัตของธุรกิจของคุณเป็นอย่างไรและอย่างไร โดยสรุปนี่คือวิธีการค้าของคุณ การวิเคราะห์นี้รวมถึงการทำความรู้จักกับระดับราคาของคุณสำหรับการหยุดการหยุดและการกำหนดเป้าหมาย ท้ายที่สุดแล้วการซื้อขายน่าจะเป็นไปได้ดังนั้นหากตลาดไปถึงตำแหน่งของคุณคุณต้องป้องกันตนเองและลดความสูญเสียให้น้อยที่สุด

#1 รูปแบบ Price Action แท่งเทียน Hammer

รูปแบบ Price Action แบบ Hammer มีลักษณะเหมือน "ค้อน" ตามชื่อของมัน ซึ่งจะเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงแนวโน้มขาขึ้นในอนาคต หรือ Bullish โดยจะใช้ใน 2 ลักษณะ คือ [1] สัญญาณกลับตัวจาก 'ขาลง' กลายเป็น 'ขาขึ้น' และ [2] สัญญาณบอกว่า 'การพักตัว' ได้จบลง และราคากำลังจะขึ้น

รูปแบบ Price Action - แท่งเทียน Hammer

Hammer แสดงให้เห็นว่า Seller พยายามทุบตลาดให้ต่ำลงกดเกิด New Low แต่ Seller ไม่ได้แข็งแกร่งมากเพียงพอและหมดแรงกระทันหัน ซึ่งเป็นผลทำให้ต้องปิดสถานะและออกจากตลาดไป ส่งผลให้ Buyer กลายเป็นผู้มีอิทธิพลในตลาดทันที โดยตัวแท่งเทียนจะมีข้อสังเกตดังนี้

  • ราคา Open และ Close มักจะอยู่โซนกึ่งบนของแท่งเทียน
  • ราคา Open, Close อาจจะใกล้เคียงกัน โดยราคา Close ที่สูงกว่า จะสะท้อนกำลังที่มากกว่าของฝั่ง Buyer

EURUSD Hammer Price Action Pattern

ภาพ 1.2 : กราฟ EURUSD ราย Weekly, ตั้งแต่ 26 May - 4 August 2020, ตัวอย่างการเกิดรูปแบบ Hammer

Disclaimer : กราฟราคาที่แสดง ณ ที่นี้ ใช้เพื่อประกอบการศึกษาเท่านั้น ไม่ถือเป็นคำแนะนำหรือคำชักชวนให้มีการลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงินใดๆ ที่ให้บริการโดย Admiral Markets (CFDs, ETFs, Shares) สถิติในอดีตไม่สามารถใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงเหตุการณ์ในอนาคตได้

ตัวอย่างคู่เงิน EURUSD ในภาพ 1.2 ข้างต้น ไฮไลต์สีเหลืองคือแท่งเทียนที่เกิดรูปแบบ Hammer ขึ้นมา จะเห็นว่า แท่งเทียนตัวแรกจะสะท้อนว่า Buyer มีพลังมากกว่าค่อนข้างมาก เนื่องจากราคา Close ดันขึ้นมาสูงกว่า Open มากพอสมควร อีกข้อสังเกตก็คือ Hammer ทั้งสองเกิดขึ้นในแนวโน้มขาลง นั่นก็คือเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงการกลับตัวไปเป็นแนวโน้มขาขึ้นในอนาคต

พื้นฐานการเทรดด้วยรูปแบบ Hammer

  • เข้าเทรด : เมื่อเกิดแท่งเทียน Hammer อาจพิจารณาเข้าเทรดได้ 2 กรณี คือ [1] เข้า Buy เมื่อจบแท่ง Hammer [2] เข้า Buy เมื่อจบอีกแท่งเทียนที่อยู่ถัดจากแท่ง Hammer
  • Stop Loss : การตั้งจุดตัดขาดทุน สามารถตั้งไว้ใต้แท่งเทียนที่เกิดเป็นรูปแบบ Hammer ได้เลย เพราะหากราคายังสามารถกดลงมาต่ำกว่า Low ของแท่งเทียนได้อีก ก็แปลว่า Buyer ยังไม่ได้เข้ามามีอิทธิพลและแข็งแกร่งพอจะผลักดันตลาดได้จริงๆ เราจึงต้องตัดขาดทุนทิ้งไปก่อน
  • Take Profit : มีหลายวิธีในการปิดทำกำไร แต่โดยทั่วไปจะปิดที่แนวต้าน และในกรณีนี้สามารถออกจากตลาดได้เลย เมื่อราคาวิ่งกลับไปแตะ Swing High ทางด้านซ้าย

#2 รูปแบบ Price Action แท่งเทียน Shooting Star

รูปแบบ Price Action แบบ Shooting Star คือขั้วตรงข้ามของ Hammer โดนเหมือนกระสุนที่ยิงดวงดาวบนท้องฟ้าและตกลงอย่างรวดเร็ว เป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงแนวโน้มขาลงในอนาคต หรือ Bearish แน่นอนว่าจะใช้ใน 2 ลักษณะ คือ [1] สัญญาณกลับตัวจาก 'ขาขึ้น' กลายเป็น 'ขาลง' และ [2] สัญญาณบอกว่า 'การพักตัว' ได้จบลง และราคากำลังจะลง

รูปแบบ Price Action - แท่งเทียน Shooting Star

Shooting Star สะท้อนพละกำลังที่หายไปอย่างกระทันหันของฝั่ง Buyer แน่นอนว่า ต้องมี Buyer มากมายโดนบังคับให้ปิดสถานะแถวๆ ไส้เทียน แล้วส่งผลให้ Seller เป็นผู้มีอิทธิพลต่อตลาดในทันที โดยการเกิดแท่งเทียน Bearish ถัดจากนี้ จะสิ่งที่ยืนยันแนวโน้มขาลงที่กำลังเกิดขึ้นใหม่

ตัวอย่างรูปแบบ Pattern แท่งเทียน Shooting Star

ภาพ 1.3 : กราฟ EURUSD ราย Weekly, ตั้งแต่ 19 May - 4 August 2020, ตัวอย่างการเกิดรูปแบบ Shooting Star

Disclaimer : กราฟราคาที่แสดง ณ ที่นี้ ใช้เพื่อประกอบการศึกษาเท่านั้น ไม่ถือเป็นคำแนะนำหรือคำชักชวนให้มีการลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงินใดๆ ที่ให้บริการโดย Admiral Markets (CFDs, ETFs, Shares) สถิติในอดีตไม่สามารถใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงเหตุการณ์ในอนาคตได้

หากเราเข้าใจเรื่อง Hammer เราก็เข้าใจรูปแบบ Price Action แบบ Shooting Star ได้ไม่ยาก เพราะเป็นการกลับฝั่งกัน

  • Hammer เกิดขึ้นในแนวโน้มขาลง : บ่งบอกว่า Bullish หรือขาขึ้นกำลังจะมา
  • Shooting Star เกิดขึ้นในแนวโน้มขาขึ้น : บ่งบอกว่า Bearish หรือขาลงกำลังจะมา

ทั้งนี้ จะภาพที่ 1.3 จะเห็นว่า Shooting Star ที่มีประสิทธิภาพ ควรเกิดขึ้นในจุดที่เป็นยอดของ Swing นั้นๆ ซึ่งก็คือที่แท่งเทียนที่ [1] กับ [3] ที่ได้ไฮไลต์สีเหลืองไว้ แต่แท่งเทียน Shooting Star แท่งที่ [2] ที่เกิดขึ้นตรง Low ซึ่งเป็นจุดพักตัวนั้น ถือว่าเป็นสัญญาณที่ไม่ได้บอกนัยสำคัญเกี่ยวกับทิศทางราคา

เริ่มทดสอบกลยุทธ์การเทรดแบบ Price Action ผ่านแพลตฟอร์ม MetaTrader 5

คุณรู้หรือไม่? MetaTrader 5 หรือ "MT5" เป็นแพลตฟอร์มการเทรดชั้นนำที่มีเครื่องมือการวิเคราะห์กราฟขั้นสูง, ระบบการเทรดอัตโนมัติ ปรับแต่งเครื่องมือและกราฟได้ตามต้องการ อีกทั้ง โบรกเกอร์ Admiral Markets ยังได้เตรียมปลั๊กอินพิเศษสำหรับใช้งานกับ MetaTrader 5 ให้ฟรี ๆ คลิกที่เปิดบัญชีทดลองด้านล่างนี้

เปิดบัญชีทดลอง

#3 รูปแบบ Price Action แท่งเทียนคนท้อง Harami

รูปแบบ Harami คืออีกหนึ่งรูปแบบสำคัญที่สะท้อนว่า พละกำลังของทิศทางหลักเริ่มมีปัญหาขึ้น แต่ราคาก็ยังไม่เลือกทิศทางชัดเจน โดยจะมี 2 แท่งเทียนประกอบกัน แท่งเทียนแรกจะมีขนาดใหญ่ แท่งเทียนถัดมาจะมีขนาดที่เล็กและอยู่ภายในกรอบของแท่งเทียนก่อนหน้า

Harami คือ "คนท้อง" เปรียบเสมือนแท่งเทียนก่อนหน้าที่เป็นแม่ หรือ Mother Bar และแท่งเทียนถัดไปที่อยู่ภายในแท่งเทียนก่อนหน้า ก็คือ "ลูก" แท่งเทียนที่เป็นลูกหรืออยู่ภายในแท่งก่อนหน้า เราเรียกอีกอย่างว่า Inside Bar

รูปแบบ Price Action - แท่งเทียน Harami

แม้รูปแบบ Harami จะถือว่ามีทั้งที่เป็น Bullish และ Bearish แต่ในทางปฏิบัติแล้ว Harami จะบ่งบอกว่า ตลาดยังไม่แน่ใจ หรือกำลังตัดสินใจเลือกทิศทางอยู่ ดังนั้น นักเทรด Forex หลายคนจะรอให้ราคา Breakout ให้พ้นกรอบของแท่งเทียนก่อนหน้าไปก่อน

และหากเราพิจารณาภาพที่ 1.4 ด้านล่าง จะเห็นได้ชัดเจนเลยว่า ทำไมรูปแบบ Harami ถึงหมายถึง "ความไม่แน่นอน" และนักเทรดควรรอให้เกิดการ Breakout ออกไปก่อน ซึ่งเหตุผลก็คือไส้ในของรูปแบบ Harami ก็คือ Pattern สามเหลี่ยมในไทม์เฟรมย่อยๆ นั่นเอง

ภาพ 1.4 : กราฟ EURGBP ราย 5 นาที, 14 - 15 Jul 2020, แสดงกราฟแท่งเทียนที่เป็นไส้ด้านในของรูปแบบ Harami

Disclaimer : กราฟราคาที่แสดง ณ ที่นี้ ใช้เพื่อประกอบการศึกษาเท่านั้น ไม่ถือเป็นคำแนะนำหรือคำชักชวนให้มีการลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงินใดๆ ที่ให้บริการโดย Admiral Markets (CFDs, ETFs, Shares) สถิติในอดีตไม่สามารถใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงเหตุการณ์ในอนาคตได้

ซึ่งสำคัญของรูปแบบ Price Action แบบ Harami ซึ่งไส้ในเรารู้แล้วว่ามันคือสามเหลี่ยม ก็คือ "ขนาดของ Harami" เพราะถ้าชุดของการเกิด Harami มีขนาดเล็ก นั่นอาจหมายถึงการพักตัวเพื่อไปต่อ ในขณะที่ Harami ในไทม์เฟรมใหญ่ๆ มันก็คือสามเหลี่ยมขนาดใหญ่ ซึ่งถ้าเกิดขึ้นในจุดยอดของ Swing มันสามารถผลักให้ราคากลับตัวได้ง่ายมากๆ ตามภาพตัวอย่างด้านล่าง

ตัวอย่างรูปแบบ Pattern แท่งเทียน Harami

ในบทความนี้เราได้ยกรูปแบบ Price Action ที่สำคัญมาทั้งหมด 3 รูปแบบ ซึ่งนี่คือพื้นฐานในการอ่าน Player เพียงเราเข้าใจแค่ 3 รูปแบบ เราก็ไม่จำเป็นต้องไปท่องจำรูปแบบราคาที่มีเยอะเกินความจำเป็น ทั้งนี้ จะเห็นว่า ทั้งรูปบบ Hammer, Shooting Star และรูปแบบ Harami มันบ่งบอกถึงสภาวะของแนวโน้มมีเริ่่มมีปัญหา ซึ่งจะสรุปให้ดังนี้

  • Hammer, Shooting Star : บ่งบอกถึงการเปลี่ยนทิศ หรือการถูกบีบออกจากตลาดอย่างกระทันหัน ทำให้ Player อีกฝั่งเข้ามามีบทบาท
  • Hammer, Shooting Star : ต้องเกิดในจุดที่เป็นยอด High หรือหลุม Low ของรอบ Swing ด้วย การเกิดรูปแบบนี้ในโซนพักตัวมักไม่ได้บ่งบอกนัยสำคัญที่เกี่ยวกับทิศทาง
  • Harami : สิ่งสำคัญ คือ "ขนาด"
    • Harami ขนาดใหญ่ หมายถึง ความผันผวนที่สูง โอกาสกลับตัวจะมากกว่า (เพราะถ้าราคาจะไปต่อ ต้องไปกำลังมากกว่าปกติ)
    • Harami ขนาดเล็ก มีแนวโน้มที่จะเป็นการพักตัวเพื่อไปต่อมากกว่า

กลยุทธ์ Price Action

ในส่วนนี้จะอธิบายพื้นฐานการวางแผนการเทรดด้วยกลยุทธ์แบบ Price Action ซึ่ง ณ ตัวอย่างนี้จะแสดง 2 รูปแบบ คือ การ Scalping ตามแนวโน้มของราคา และกลยุทธ์ที่ 2 คือการรับมือเมื่อราคาฟอร์มตัวเป็นรูปแบบ Harami

Forex Price Action Scalping

ผู้ค้ามีกลยุทธ์การกำหนดราคาแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตามการถลกหนังอาจใช้เวลาหลายวันต่อวันสำหรับการทำธุรกรรมระยะสั้นและจำเป็นต้องใช้ตัวกรองเพิ่มเติมเพื่อแลกเปลี่ยนระบบที่ขับเคลื่อนด้วยราคา

ตัวกรองสำคัญคือการค้นหาตลาด Movement ของตลาด Forex ซึ่งทำให้ผู้ค้าสามารถระบุผู้ที่ควบคุมตลาด ผู้ซื้อหรือผู้ขาย ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (MA) เป็นตัวบ่งชี้การซื้อขายที่มีประโยชน์เพื่อช่วยคุณระบุสิ่งนี้ เนื่องจากกะโหลกค้นหาการเคลื่อนไหวระยะสั้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ - เช่นค่าเฉลี่ยยี่สิบสองและห้าสิบเคลื่อนไหว

ตอนนี้เราสร้างกฎบางอย่างสำหรับกลยุทธ์การกำหนดราคาของ Forex ซึ่งรวมค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แนวโน้มและการวัดราคาสำหรับรายการระดับและการสูญเสีย

สัญญาณ Buy

สัญญาณ Sell

กราฟ 4 ชั่วโมง

กราฟ 4 ชั่วโมง

20 MA เหนือกว่า 50 MA

20 MA ต่ำกว่า 50 MA

เกิดรูปแบบ Hammer หรือ Bullish Harami

เกิดรูปแบบ Shooting Star หรือ Bearish Harami

รูปแบบ Price Action เกิดขึ้นในพื้นที่ระหว่าง 20 MA และ 50 MA

รูปแบบ Price Action เกิดขึ้นในพื้นที่ระหว่าง 20 MA และ 50 MA

เข้าในจังหวะที่ราคาขยับไป 1 pip เหนือ High ของแท่งเทียน

เข้าในจังหวะที่ราคาขยับไป 1 pip ต่ำกว่า Low ของแท่งเทียน

ตั้ง Stop Loss ที่ 1 pip ต่ำกว่า Low ของแท่งเทียน

ตั้ง Stop Loss ที่ 1 pip เหนือกว่า High ของแท่งเทียน

เป้าหมาย : ความสามารถในการคาดการณ์สูงหรือความเสี่ยงจาก High

เป้าหมาย : ความสามารถในการคาดการณ์สูงหรือความเสี่ยงจาก Low

ยกเลิกคำสั่งถ้ามันไม่ทริกเกอร์โดยเริ่มต้นเทียนใหม่

ยกเลิกคำสั่งถ้ามันไม่ทริกเกอร์โดยเริ่มต้นเทียนใหม่

นี่คือตัวอย่างของวิธีการสร้างระบบธุรกิจของคุณเอง กลยุทธ์ใด ๆ ก็ตามที่สามารถประสบความสำเร็จและแพ้ธุรกิจได้ดังนั้นจัดการความเสี่ยงของคุณอย่างชาญฉลาด ให้เราดูกลยุทธ์ของการกระทำ อย่างไรก็ตาม ท่านสามารถศึกษากลยุทธิ์ Scalping เพิ่มเติบได้

audusd price action scalping

ภาพ 1.5 : กราฟ AUDUSD ราย Day, 4 Jan 2019 - 4 Aug 2020, แสดงภาพรวมก่อนเข้าเทรดแบบ Price Action Scalping

Disclaimer : กราฟราคาที่แสดง ณ ที่นี้ ใช้เพื่อประกอบการศึกษาเท่านั้น ไม่ถือเป็นคำแนะนำหรือคำชักชวนให้มีการลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงินใดๆ ที่ให้บริการโดย Admiral Markets (CFDs, ETFs, Shares) สถิติในอดีตไม่สามารถใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงเหตุการณ์ในอนาคตได้

ตารางด้านบนใน AUDUSD แสดงขั้นตอนการแก้ไขล่าสุด ลองดูที่นี่ในบันทึกย่อสี่ชั่วโมง

Forex Price Action Scalping กราฟ 4 ชั่วโมง ในคู่เงิน AUDUSD

ภาพ 1.5 : กราฟ AUDUSD ราย Day, 6 July - 4 Aug 2020, การหาจังหวะ Scalping ในไทม์เฟรม 4 ชั่วโมง

Disclaimer : กราฟราคาที่แสดง ณ ที่นี้ ใช้เพื่อประกอบการศึกษาเท่านั้น ไม่ถือเป็นคำแนะนำหรือคำชักชวนให้มีการลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงินใดๆ ที่ให้บริการโดย Admiral Markets (CFDs, ETFs, Shares) สถิติในอดีตไม่สามารถใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงเหตุการณ์ในอนาคตได้

Moving Average ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (เส้นสีน้ำเงิน) ที่เหนือกว่าเส้นค่าเฉลี่ย 50 (เส้นสีแดง) นี่เป็นส่วนหนึ่งของกฎด้านบนสำหรับกลยุทธ์ปริมาณราคาแลกเปลี่ยน ขั้นตอนต่อไปคือการระบุระบบอัตราแลกเปลี่ยนสำหรับค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่และกิจกรรมราคาที่เพิ่มขึ้น

การ Scalping เมื่อเกิดรูปแบบ Harami

ภาพ 1.6 : กราฟ AUDUSD ราย Day, 6 July - 4 Aug 2020, ราคาสามารถเหวี่ยงขึ้นหรือลงก็ได้

Disclaimer : กราฟราคาที่แสดง ณ ที่นี้ ใช้เพื่อประกอบการศึกษาเท่านั้น ไม่ถือเป็นคำแนะนำหรือคำชักชวนให้มีการลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงินใดๆ ที่ให้บริการโดย Admiral Markets (CFDs, ETFs, Shares) สถิติในอดีตไม่สามารถใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงเหตุการณ์ในอนาคตได้

ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ยี่สิบช่วงเวลา (เส้นสีน้ำเงิน) อยู่เหนือค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ของช่วงเวลาห้าสิบ (เส้นสีแดง) สิ่งนี้เป็นไปตามส่วนหนึ่งของกฎข้างต้นสำหรับกลยุทธ์การร่อนราคา Forex ขั้นตอนต่อไปคือการระบุการตั้งค่าอัตราแลกเปลี่ยนการเคลื่อนไหวของราคาที่พัฒนาระหว่างค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่

ภาพ 1.7 : กราฟ AUDUSD ราย Day, 6 July - 4 Aug 2020, ผลลัพธ์จะออกมาตามต้องการ หากสามารถควบคุมความเสี่ยงได้รอบคอบ

Disclaimer : กราฟราคาที่แสดง ณ ที่นี้ ใช้เพื่อประกอบการศึกษาเท่านั้น ไม่ถือเป็นคำแนะนำหรือคำชักชวนให้มีการลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงินใดๆ ที่ให้บริการโดย Admiral Markets (CFDs, ETFs, Shares) สถิติในอดีตไม่สามารถใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงเหตุการณ์ในอนาคตได้

แผนภูมิด้านบนแสดงค้อนและรูปแบบการยึดเกาะเชิงบวกที่อยู่ระหว่างค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ของกล่องทองคำ ระบบปฏิบัติการสองระบบแรกเรียกใช้เทียนที่มีราคาสูงจากนั้นก็ลดลงเพื่อหลีกเลี่ยงการสูญเสียซึ่งส่งผลให้ธุรกิจทั้งสองสูญเสีย อย่างไรก็ตามการเคลื่อนไหวของราคาต่อไปจะทำให้ราคาเทียนสูงซึ่งจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและเอาชนะวิธีการจัดการธุรกิจเป็นมาตรการตอบโต้

กลยุทธ์การเทรด Price Action ด้วยรูปแบบ Harami

  1. ระบุการเกิดรูปแบบ Harami ให้ได้ก่อน
  2. เข้าเทรดเมื่อราคาขยับพ้น High หรือ Low ของแท่งเทียนก่อนหน้าไปแล้ว 1 Pip ซึ่งจะเห็นว่า มันคือการเทรดแบบ Breakout นั้นเอง
  3. ต้ัง Stop Loss เหนือหรือต่ำกว่า High, Low ของอีกด้าน เช่น ถ้าเป็นกรณีเข้า Buy ก็ให้ตั้ง Stop Loss ต่ำกว่า Low ของแท่งก่อนหน้า 1 Pip
  4. ให้ใช้วิธีการ Take Profit ออกตามแนวรับ-ต้าน ถัดไป หรือคุณสามารถใช้ Admiral Pivot Point ตามภาพด้านล่างเพื่อเป็นแนวเล็งในการ Take Profit ก็ได้เช่นกัน

ทั้งนี้จะเห็นว่า กลยุทธ์การเทรด Harami ก็อยู่บนพื้นฐานของแนวคิดแบบ Breakout ซึ่งคุณสามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับกลยุทธ์การเทรด Breakout และ Inside Bar ได้ที่บทความ : กลยุทธ์การเทรด Inside Bar สำหรับตลาด Forex

การเทรดแบบ Price Action ด้วยสัญญาณ Harami ในคู่เงิน AUD/CAD

ภาพ 1.8 : กราฟ EURGBP ราย Weekly, 11 Aug 2019 - 4 Aug 2020, แสดงจุดในการเข้าเทรดเมื่อเกิดรูปแบบ Harami

Disclaimer : กราฟราคาที่แสดง ณ ที่นี้ ใช้เพื่อประกอบการศึกษาเท่านั้น ไม่ถือเป็นคำแนะนำหรือคำชักชวนให้มีการลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงินใดๆ ที่ให้บริการโดย Admiral Markets (CFDs, ETFs, Shares) สถิติในอดีตไม่สามารถใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงเหตุการณ์ในอนาคตได้

ตารางข้างต้นของ AUD/CAD ได้ปรากฎในลักษณะ Bullish โดยใช้กฎข้างต้นคุณสามารถมีราคารายการที่สูงกว่าการไต่เทียนครั้งสุดท้ายและหยุดการขาดทุนที่ด้านล่างของเทียนก่อนหน้า หากคำสั่งนั้นไม่ถูกกระตุ้นโดยการเปิดคอลัมน์ถัดไปก็สามารถยกเลิกคำสั่งนั้นและถือการซื้อขายครั้งต่อไป หากมีการเรียกใช้การสูญเสียหยุดหรือตำแหน่งเป้าหมายของคุณจะกำจัดคุณจากกำไรหรือขาดทุน

บทสรุปของการเทรด Price Action

Price Action คือ การศึกษาเรื่องของผู้เล่นในตลาด ซึ่งเป็นการมองผ่าน "สิ่งที่ราคาได้กระทำ" นั่นเอง ตัวอย่างของการเดินหมากที่ผิดพลาดของฝั่ง Buyer ก็ทำให้เกิดสัญญาณ Shooting Star เป็นต้น ทั้งนี้ Price Action จะเกี่ยวข้องกับเรื่อง "รูปแบบ" เป็นอย่างมาก และรูปแบบ Price Action ส่วนใหญ่จะสะท้อนถึงการกลับตัวของราคา และมันจะทำให้คุณได้จังหวะการเทรดที่ดีเสมอ

สุดท้ายนี้ หากคุณพร้อมแล้ว ที่จะเข้าไปเทรดด้วยกลยุทธ์ Price Action ในตลาดจริงๆ ก่อนอื่นนั้น คุณควรจะต้องมีการทดสอบก่อนว่า ระบบเทรดของคุณใช้งานได้จริง และวิธีการที่ง่ายที่สุดคือการทดสอบในบัญชีเงินจำลองหรือ "Demo Account"

คุณสามารถทดสอบกลยุทธิ์การเทรดใหม่ๆ ผ่านการเทรดในตลาดเสมือนจริง สภาพแวดล้อมเหมือนจริงทุกประการ คำนวณกำไร-ขาดทุนให้ตามราคาตลาดจริงๆ แต่เพียงเป็นระบบเงินจำลองเท่านั้น บัญชี Demo จึงเป็นเหมือนห้องแล็บสำหรับการเทรด และถ้าพร้อมแล้ว คลิกที่แบนเนอร์ด้านล่าง! เปิดบัญชีทดลองได้แล้ววันนี้ ฟรี!

เปิดบัญชีเทรด Forex

เกี่ยวกับ Admiral Markets

Admiral Markets เป็นโบรกเกอร์ Forex และ CFD ที่ชนะรางวัลมากมาย อีกทั้งได้รับ ใบอนุญาตและกำกับดูแลจากหลายประเทศทั่วโลก โดยให้บริการซื้อขายตราสารการเงินมากกว่า 8,000 รายการผ่านแพลตฟอร์มเทรดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลกอย่าง MetaTrader 4 และ MetaTrader 5 เริ่มเทรดเลยวันนี้

คำปฏิเสธข้อเรียกร้อง (Disclaimer): เอกสารนี้ไม่มีและไม่ควรตีความว่ามีคำแนะนำการลงทุน, การให้คำปรึกษาด้านการลงทุน, ข้อเสนอหรือคำชักชวนให้ทำธุรกรรมใด ๆ ในตราสารทางการเงิน โปรดทราบว่า ในกรณีของการวิเคราะห์การซื้อขายใด ๆ ที่อ้างอิงถึงผลการดำเนินงานหรือสถิติในอดีต พฤติกรรมของข้อมูลดังกล่าวอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามกาลเวลา ก่อนที่จะตัดสินใจลงทุนใด ๆ คุณควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทาง

ความคิดเห็น